มาตรา ๑๘ วัตถุอันตรายแบ่งออกตามความจำเป็นแก่การควบคุม ดังนี้
(๑) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
(๒) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดด้วย
(๓) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
(๔) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง
เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุชื่อหรือคุณสมบัติของวัตถุอันตราย ชนิดของวัตถุอันตราย กำหนดเวลาการใช้บังคับและหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าว
มาตรา ๒๐ ให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๑) กำหนดปริมาณ องค์ประกอบ คุณสมบัติและสิ่งเจือปน ภาชนะบรรจุ วิธีตรวจ และทดสอบภาชนะ ฉลาก การผลิต การนำเข้า การส่งออก ด่านศุลกากรที่นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน การขาย การขนส่ง การเก็บรักษา การกำจัด การทำลาย การปฏิบัติกับภาชนะของวัตถุอันตราย การให้แจ้งข้อเท็จจริง การให้ส่งตัวอย่าง หรือการอื่นใดเกี่ยวกับวัตถุอันตรายเพื่อควบคุม ป้องกัน บรรเทาหรือระงับอันตราย ที่จะเกิดแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึง สนธิสัญญาและข้อผูกพันระหว่างประเทศประกอบด้วย
(๑/๑) กำหนดให้มีการดำเนินการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายและให้มี การประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ชีวิต หรือทรัพย์สินซึ่งเกิดจาก การประกอบกิจการ
(๒) กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบในการดำเนินการอย่าง หนึ่งอย่างใดตาม (๑) และ (๑/๑)
(๓) กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุ อันตราย
(๔) กำหนดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายดังกล่าว
(๕) ระบุชื่อหรือคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและกรณีที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๓๖
มาตรา ๒๐/๑ ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการ ดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ กำหนดโดยความเห็นของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๐/๒ ผู้นำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ หรือชนิดที่ ๒ ในแต่ละครั้งต้อง แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งแล้ว ให้ออกใบนำผ่านเพื่อเป็น หลักฐานการรับแจ้ง ผู้นำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ในแต่ละครั้งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตแล้ว ให้ออกใบนำผ่านเพื่อเป็นหลักฐานการอนุญาต ใบนำผ่านจากการรับแจ้งตามวรรคหนึ่งหรือจากการอนุญาตตามวรรคสอง ให้ใช้ได้ ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบนำผ่านนั้น แต่มิให้กำหนดเกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ออกใบนำผ่าน ทั้งนี้ผู้นำผ่านจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการนำเข้าและส่งออกวัตถุอันตรายที่เป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนใน ประเทศไทย วัตถุอันตรายที่นำผ่านต้องนำออกไปนอกราชอาณาจักรภายในห้าวัน นับแต่วันที่ ตรวจปล่อยวัตถุอันตรายออกจากด่านศุลกากรที่เข้ามาในราชอาณาจักร การแจ้ง การขออนุญาต และการออกใบนำผ่าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบกำหนดโดยความเห็นของคณะกรรมการโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการประกันสำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการ ทำลายหรือการจัดการวัตถุอันตรายตามมาตรา ๕๒ มาตรา ๕๒/๒ และมาตรา ๘๘ ผู้นำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒ หรือชนิดที่ ๓ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตามมาตรา ๒๐ (๑) (๑/๑) และ (๒) ด้วย
มาตรา ๒๐/๓ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำกลับเข้ามา หรือส่งกลับออกไป ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒ หรือชนิดที่ ๓ ที่ได้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ หรือ มาตรา ๒๓ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งผ่อนผันการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งนี้ การผ่อนผันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบกำหนดโดยความเห็น ของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ชนิดที่ ๑ ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตามมาตรา ๒๐ (๑) (๑/๑) (๒) และ (๓)
มาตรา ๒๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๓๖
ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ เว้นแต่จะได้แจ้งความประสงค์จะดำเนินการดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน เมื่อได้มีประกาศระบุวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง แจ้งการดำเนินการของตนที่กระทำอยู่ในขณะนั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ภายในเวลาที่กำหนดในประกาศดังกล่าว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ออกใบรับแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้แจ้ง โดยใบรับแจ้งให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบ รับแจ้งระยะเวลาที่กำหนดต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ออกใบรับแจ้ง การแจ้ง การออกใบรับแจ้ง การขอต่ออายุ และการต่ออายุใบรับแจ้ง ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ต้อง ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตามมาตรา ๒๐ (๑) (๑/๑) (๒) และ (๓) ด้วย
มาตรา ๒๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๓๖ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงดังกล่าวให้กำหนดกรณีที่พึงอนุญาตได้และกรณีที่จะอนุญาตไม่ได้ไว้ ให้ชัดเจนเท่าที่จะกระทำได้ เว้นแต่กรณีจำเป็นที่ไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้าและให้กำหนดระยะเวลา สำหรับการพิจารณาอนุญาตให้ชัดเจนด้วย
ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ต้อง ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตามมาตรา ๒๐ (๑) (๑/๑) (๒) และ (๓) นั้นด้วย ๒๖
มาตรา ๒๔ เมื่อได้มีประกาศระบุชื่อวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าวยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๓ ภายในเวลาที่กำหนดในประกาศดังกล่าว และในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้นั้นประกอบ กิจการไปพลางก่อนได้จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งไม่อนุญาตตามคำขอนั้น
มาตรา ๒๕ ใบอนุญาตที่ออกไปแล้วนั้น ถ้าต่อมากฎหมายหรือพฤติการณ์ได้ เปลี่ยนแปลงไปหรือมีเหตุสำคัญเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออก ใบอนุญาตมีอำนาจสั่งแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการอนุญาตได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๒๖ ใบอนุญาตซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่ กำหนดไว้ในใบอนุญาต แต่มิให้กำหนดเกินสามปีนับแต่วันออกใบอนุญาต
มาตรา ๓๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของ คณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดรายชื่อของวัตถุอันตรายที่กระบวนการผลิตและ ลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเป็นที่ทราบกันแน่ชัดโดยทั่วไป
การผลิต หรือการนำเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ หรือชนิดที่ ๓ ที่อยู่นอกรายชื่อ ของประกาศตามวรรคหนึ่ง จะต้องนำมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนและเมื่อได้รับ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ผลิตหรือนำเข้าตามมาตรา ๒๒ หรือออกใบอนุญาตให้ผลิตหรือ นำเข้าตามมาตรา ๒๓ ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบยกเว้นให้ไม่ต้องขึ้น ทะเบียนอีกถ้ามีผู้ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายอย่างเดียวกันนั้นไว้แล้วหรือในกรณีอื่นที่มีเหตุอันควรใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายให้มีอายุไม่เกินหกปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน
การขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและ การต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บัญชี | ลำดับ | รายชื่อ | CAS No. | ชนิด | พิกัด | เงื่อนไข |
---|---|---|---|---|---|---|
6 | 1 | ก๊าซธรรมชาติ (natural gas) | - | 3 | 2711.21.10-000/KGM | เฉพาะที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง |
6 | 2 | ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (liquefied petroleum gas) | - | 3 | 2711.19.00-001/KGM |